10 วิธีแก้ ให้ห้องน้ำน่าใช้ ใครๆ ก็ทำได้

1.สว่างไม่พอ

บริเวณเคาน์เตอร์ซิงก์ควรเพิ่มไฟประเภท Task Light โดยอาจจะเป็นในรูปแบบของโคมไฟติดผนังติดบริเวณกระจกที่ให้แสงสว่าง มาจากด้านหน้า ทำให้บริเวณหน้ากระจกสว่างและสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

2.ทำความสะอาดได้ยาก

ห้องน้ำส่วนใหญ่เลือกใช้กระเบื้องเซรามิคเป็นคำตอบสำหรับวัสดุในห้องน้ำ เนื่องจากดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่ายที่สุด กระเบื้องที่มีเท็กซ์เจอร์หยาบๆ ก็จะทำความสะอาดได้ยากกว่ากระเบื้องที่มีเท็กซ์เจอร์เรียบทั่วไป รวมทั้งกระเบื้องแผ่นใหญ่ที่การปูมีรอยต่อน้อยกว่า ก็จะลดพื้นที่สะสมของเชื้อโรคและคราบสกปรกได้มากกว่า

4.เปียกไปทั่ว

การแก้ปัญหานี้มีวิธีเดียวคือต้องแบ่งส่วนแห้งและส่วนเปียกตามการใช้งาน โดยส่วนแห้งจะประกอบด้วยอ่างล้างหน้าและโถส้วม ส่วนส่วนเปียก ได้แก่ ส่วนอาบน้ำฝักบัวและอ่างอาบน้ำ ทั้งสองส่วนควรแยกออกจากกัน ตามความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น กั้นห้องแยกกัน หรือ กั้นด้วยประตูกระจกหรือผ้าม่านกันน้ำ เป็นต้น

5.มีกลิ่นอับ

การแก้ปัญหาแรกเริ่มตั้งแต่การออกแบบบ้าน ก็คือการพยามออกแบบตำแหน่งของห้องน้ำทุกห้องให้ติดกับภายนอก หรือหากอยู่ ทางทิศใต้และทิศตะวันตกก็จะยิ่งดี เนื่องจากมีแสงสว่างจากธรรมชาติส่องเข้ามาเพื่อฆ่าเชื้อโรคในห้องน้ำได้ ช่องเปิดของห้องน้ำกับภายนอกก็สามารถ ออกแบบได้หลากหลายวิธี เช่น บานกระทุ้ง บานเกล็ด บานเลื่อนและบานเปิด เป็นต้น ที่สามารถทำให้เกิดการระบายอากาศระหว่างภายในกับภายนอก ได้เป็นอย่างดี ส่วนในกรณีที่ห้องน้ำไม่สามารถอยู่ติดกับภายนอกได้ ก็จำเป็นจะต้องติดตั้งเครื่องดูดอากาศแบบติดกับฝ้าที่ช่วยดูดกลิ่น ความอับชื้น ผ่านท่อเพื่อปล่อยสู่ภายนอก

6.น้ำไม่ระบายลงท่อ

เช็คความลาดเอียงของห้องน้ำใหม่ โดยปกติแล้วการทำระดับพื้นห้องน้ำจะต้องให้ลาดเอียงไปยังท่อระบายน้ำในสัดส่วนความ ลาดชันประมาณ 1:200 และพื้นจะต้องลาดอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ไม่เกิดน้ำขังที่พื้น นอกจากนั้นระดับพื้นห้องน้ำยังควรต่ำกว่าห้องภายนอกอย่าง น้อย 5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกสู่ภายนอกห้องน้ำได้

4.พื้นลื่น

การเลือกวัสดุปูพื้นห้องน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความปลอดภัย โดยควรเลือกใช้กระเบื้องหรือหินที่มีพื้นผิวค่อนข้างหยาบ ผิว ด้านและไม่ควรมันเงา แต่ถ้าหากสุดวิสัยไม่สามารถปูกระเบื้องใหม่ที่เหมาะสมได้ ก็จำเป็นจะต้องใช้แผ่นยางรองกันลื่นสำหรับห้องน้ำในส่วนที่เป็นฝักบัว และส่วนเปียกไปก่อน

7.ระบายน้ำไม่ทัน

ท่อระบายน้ำสกปรกหรือท่อน้ำทิ้งควรมีขนาดมาตรฐาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 3 นิ้ว ทำให้น้ำทิ้งผ่านลงไปได้อย่าง รวดเร็วกว่า การเลือก Floor Drain ก็ควรมีฝาตะแกรงครอบเพื่อกันไม่ให้สิ่งสกปรก ฝุ่นผง และเศษต่างๆอันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ท่อตันหลุดลงไป ในท่อได้ นอกจากนั้นยังควรดูแลรักษาความสะอาดบริเวณ Floor Drain อย่างสม่ำเสมอ

8.ที่เก็บของไม่เพียงพอ

พื้นที่เก็บของในห้องน้ำควรออกแบบให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ โดยส่วนใหญ่มักออกแบบให้มีตู้ เก็บของอยู่ใต้เคาน์เตอร์ซิงก์เป็นตู้บานปิด เพื่อเก็บพวกม้วนกระดาษและอุปกรณ์ทำความสะอาด ส่วนสบู่และยาสระผมที่จำเป็นต้องใช้งานประจำควร เลือกชั้นวางของแบบเปิด ติดตั้งในส่วนอาบน้ำบริเวณตำแหน่งที่อยู่ในระยะเอื้อมและหยิบใช้ได้อย่างสะดวก รวมทั้งยังเป็นวัสดุที่ง่ายต่อการทำความ สะอาด เช่น อะครีลิคและสเตนเลสสตีล เป็นต้น

9.ไฟฟ้าช็อต

ปลั๊กหรือ Outlet ภายในห้องน้ำควรอยู่สูงกว่าพื้นประมาณอย่างน้อย 70 เซนติเมตร หรืออยู่ระดับเดียวกับเคาน์เตอร์ซิงก์ และอยู่ ในส่วนที่แห้งเท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำโดนปลั๊ก นอกจากนั้นภายในห้องน้ำควรเลือกใช้ปลั๊กหรือ Outlet ประเภทกันน้ำได้หรือมีฝาครอบกันน้ำ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการการใช้งานด้วย

10.ผนังหรือฝ้าบวมน้ำที่เกิดจากความชื้น

ก่อนที่จะปูกระเบื้องจำเป็นต้องฉาบผนังห้องน้ำด้วยน้ำยากันความชื้นหรือน้ำยากันซึมให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะส่วนของฝักบัวและ ส่วนของอ่างอาบน้ำควรตรวจสอบการซึมให้ดี ฝ้าเพดานก็เช่นกันควรใช้ฝ้ายิปซัมทนความชื้นฉาบเรียบสำหรับห้องน้ำโดยเฉพาะ