ดัดแปลง-ต่อเติมบ้าน อย่างไรไม่โดนคุก

ต่อเติมบ้าน

ต่อเติมบ้าน

ดัดแปลง/ต่อเติมบ้าน อย่างไรไม่โดนคุก

 

บ้านที่เราอยู่อาศัย เมื่อวันเวลาผ่านไป ปัจจัยแวดล้อมในชีวิตคนเราย่อมมีการเปลี่ยนแปลง จากเด็กก็ก้าวเข้าสู่เป็นวัยรุ่นที่ต้องการพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น จากวัยกลางคนก็เข้าสู่วัยชราต้องการพื้นที่ในการเดินเหิรได้สะดวก ไม่ต้องการพื้นที่ลาดชัน ต้องการราวจับ บ้านที่ไม่เคยมีเด็ก อาจมีเด็กเล็กเพิ่มเข้ามา บ้านที่เคยใช้อยู่อาศัยประจำ จะกลายเป็นคับแคบไม่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตเหมือนเดิมอีกต่อไป ทางออกที่ประหยัดและคนนิยมใช้คือการดัดแปลง ต่อเติมบ้านโดยช่างทั่วๆ ไป แต่รู้หรือไม่ว่าการดัดแปลงต่อเติมบ้านหรืออาคารของเราถูกหรือผิดกฏหมายกันแน่ ทางที่ดีเราควรมาศึกษาข้อกฏหมายไว้จะดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของคนอยู่อาศัยตามหลักวิศวกรรมและความถูกต้องของกฏหมายนั่นเอง

เรื่องพื้นฐานที่เราอาจสงสัยว่า ว่าต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่หรือไม่นั้นอาจมีดังนี้

จะเปลี่ยนประตูบ้านใหม่,ซ่อมท่อพัก,ทาสีบ้านใหม่,ต่อเติมครัว,เปลี่ยนแผ่นมุงหลังคา,เดินระบบสายไฟใหม่, ปูพื้นกระเบื้องใหม่และอื่นๆ

โดยเนื้อหาของกฏหมายระบุไว้ว่า กฎหมายควบคุมอาคาร กำหนดว่าผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน โดยการยื่นคำขออนุญาต แบบแปลน และเอกสารประกอบตามกฎหมาย

 

แล้วดัดแปลง กับ ต่อเติม ต่างกันอย่างไร…?

ดัดแปลง      หมายความว่า เปลี่ยนแปลง

ส่วน ต่อเติม   หมายความว่า  เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่างๆของอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม

อีกคำที่ท่านควรรู้คือ ซ่อมแซม ซึ่งหมายความว่า ซ่อมหรือเปลี่ยนส่วนต่างๆ ของอาคารให้คงสภาพเดิมก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน

คนเรามักสับสนระหว่างคำว่า “ซ่อมแซม” กับคำว่า “ต่อเติม” จึงมักจะอ้างหน้าตาเฉยว่าเป็นการซ่อมแซม ทั้งๆที่เห็นอยู่ว่านั่นมันต่อเติมขยายใหญ่ขึ้นชัดๆในประเด็นนี้  ท่านกำลังทำผิด มีสิทธิ์ติดคุกได้

กฎกระทรวงฉบับที่ 11(2528)ออกตามในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 65 (พ.ศ.2558) การกระทำต่อไปนี้  ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารแยกหัวข้อออกเป็น 6 ข้อ คือ

  1. เปลี่ยนโครงสร้างที่ไม่ใช่ คอนกรีต หรือ เหล็กรูปพรรณ สามารถทำได้โดยวัสดุที่ใช้ต้องเป็นวัสดุชนิดเดิม ขนาดเท่าเดิม และจำนวนเท่าเดิม
  2. เปลี่ยนส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างเช่น ผนัง ประตู หน้าต่าง สามารถทำได้โดยสิ่งที่เปลี่ยนต้องมีน้ำหนักไม่มากกว่าของเดิมเกิน 10 %
  3. หเปลี่ยนต่อเติมส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างต้องไม่ทำให้น้ำหนักตรงจุดนั้นเพิ่มขึ้นเกิน 10 %
  4. ลดหรือเพิ่มพื้นที่บ้านสามารถทำได้โดยพื้นที่ที่จะต่อเติมหรือลดต้องรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มเสาหรือคาน
  5. ลดหรือเพิ่มพื้นที่หลังคาบ้านสามารถทำได้โดยพื้นที่ที่จะต่อเติมหรือลดต้องรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มเสาหรือคาน
  6. ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารอยู่อาศัยที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรว่าสามารถติดตั้งได้อย่างปลอดภัยและแจ้งพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนดำเนินการ

บทลงโทษ

สำหรับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยมิได้รับอนุญาต จะมีโทษดังนี้คือ

  • เจ้าพนักงานมีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าของ ลูกจ้างหรือบริวารระงับการกระทำดังกล่าวเสีย ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ก็สั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า30 วัน หรือถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารไม่ยอมแก้ไขตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ก็จะถูกสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนภายในเวลาที่กำหนด แต่ไม่น้อยกว่า 30 วัน
  • ผู้กระทำผิดมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และยังต้องถูกโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • ในกรณีที่มีการฝ่าฝืน ให้ถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร(กรณีเป็นนิติบุคคลอาคารชุด) ผู้ดำเนินการ เว้นแต่บุคคลนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น
  • ในกรณีที่นิติบุคคลทำความผิดตามกฎหมายควบคุมอาคาร ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
  • ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรืออาคารที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับอาคาร ที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น หรือบุคคลซึ่งความเป็นอยู่หรือการใช้สอยที่ดินหรืออาคารถูกกระทบกระเทือน เนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย

จากข้างต้น ท่านจะเห็นได้ว่า เนื้อแท้ของตัวบทกฏหมายนั้น ให้ความสำคัญในเรื่อโครงสร้างเป็นหลักใหญ่ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยและเป็นระเบียบเรียบร้อยของการอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ให้เกิดความเสี่ยงของอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงจนไม่ได้มาตรฐาน หากถูกร้องเรียนต่อเจ้าพนักงาน หรือก่อสร้างไม่ตรงตามแบบที่ยื่นขออนุญาตไว้แล้ว ท่านอาจได้รับบทลงโทษซึ่งทางที่ดีท่านควรศึกษาข้อกฏหมายก่อนจะดีที่สุด

ขอขอบคุณ

 

นิตยสาร                                    บ้านและสวน

เว็บไซต์                                     www.thailaws.com

กรมโยธาธิการและผังเมือง        https://www.dpt.go.th

คำที่เกี่ยวข้อง
ต่อเติมบ้าน ,ดัดแปลงบ้าน,ซ่อมบ้าน,กฏหมายต่อเติมบ้าน,กฏหมาต่อเติมอาคาร,พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร,กฏหมายควบคุมอาคาร,ควบคุมการต่อเติมบ้าน,ต่อเติมบ้านอย่างถูกวิธี,รับสร้างบ้าน,


รับสร้างบ้าน ด้วยแบบบ้านสวย ที่
แอทมายด์เฮ้าส์ รับสร้างบ้าน
Tel . 081-170-7966 / 080-979-7966
LINE ID : @atmindhouse
www.atmindhouse.com

#รับสร้างบ้าน ,#รายชื่อบริษัทรับสร้างบ้าน, ,#บริษัทรับสร้างบ้านราคาถูก #บริษัทรับสร้างบ้านสองชั้น,#รับสร้างบ้านหรู ,#บริษัทรับสร้างบ้านชั้นเดียว