เสาเข็ม (Pile) เรื่องไม่เล็กที่คุณควรใส่ใจ

เสาเข็ม (Pile) คือ อะไร..?

เสาเข็ม คือ  โครงสร้างของอาคารชนิดหนึ่งซึ่งถูกฝังไว้ใต้สุด ใช้เพื่อการรับน้ำหนัก ถ่ายเทลงสู่พื้นดิน ทั้งนี้โดยอาศัยแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับผิวดินและมีลักษณะเป็นท่อน ฝังในดินเชื่อมต่อกับฐานราก ทำหน้าที่รับน้ำหนักอาคารทั้งหลังจากฐานราก และแรงต้านทานที่ปลายเข็มจากชั้นดินแข็งทั้งนี้เพราะปลายเสาเข็มจมอยู่ในชั้นดินแข็ง 1-3 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางหน้าตัดเสาเข็ม

เสาเข็มมีกี่แบบ…? (ตามการใช้งาน)

3 แบบ คือ แบบคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มเจาะ และเสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง

เสาเข็ม จำเป็นต้องเป็นเสาปูนหรือ..?

ไม่จำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอาคารเป็นหลัก อาคารขนาดเล็กก็ใช้วัสดุไม้ก็ได้ แต่ที่เราพบเจอบ่อยจะใช้กับอาคารขนาดใหญ่ จึงต้องรองรับน้ำหนักมากนิยมเป็นเสาเข็มแบบปูน

เสาเข็มทำงานอย่างไร…?

เสาเข็มรับน้ำหนักจากตัวอาคารและอาศัยแรงเสียดทานระหว่างตัววัสดุเสาเข็มกับพื้นผิวของของดินพยุงเสาไว้และอีกทั้งปลายอีกด้านหนึ่งซึ่งอยุ่ล่างสุดจรดกับชั้นหินจึงแบกรับน้ำหนักได้ดี

มีภาพประกอบด้านล่างนี้

เสาเข็ม-เรื่องไม่เล็กที่คุณต้องใส่ใจ

เสาเข็ม-เรื่องไม่เล็กที่คุณต้องใส่ใจ

มีแต่ตัวบ้านหรือที่ใช้เสาเข็ม…?

ไม่จำเป็น เสาเข็มใช้ได้กับทุกจุดที่ไม่ต้องการให้พื้นทรุดตัวเร้วเกินไป เช่น ที่จอดรถ ห้องครัว ส่วนต่อเติมนอกตัวอาคารอื่นๆ

 

เสาเข็มที่ใช้ๆ กัน มีกี่หน้าตัด…?

มี 9 หน้าตัดที่นิยมใช้สุดได้แก่ สี่เหลี่ยม , สี่เหลี่ยมกลวง ,กลมกลวง,หกเหลี่ยมกลวง, ตัวไอ,ดับเบิ้ลฮาฟมูน ,รูปตัวที,รุปตัววาย และ แบบกลมตัน

 

สร้างบ้านใหม่ ใช้แบบไหนดีละ..?

ถ้าบ้านท่านเป็นแบบ 2 ชั้น นิยมใช้แบบคอนกรีต แบบเข็มตอก เพราะประหยัดที่สุด มักใช้หน้าตัดรูป ตัว ไอ ความยาวประมาณ 12-16 เมตร

สร้างบ้านโดยทั่วไป ควรลงเสาเข็มของบ้านให้ยาวลึกถึงชั้นดินแข็งจะได้แรงต้านทั้งสองส่วนช่วยพยุงให้บ้านมีความมั่นคงแข็งแรง สำหรับบ้านที่มีเสาเข็มยาวไม่ถึงชั้นดินแข็ง ย่อมหมายถึงว่าน้ำหนักของบ้านทั้งหลังมีเพียงแรงเสียดทานของดินชั้นบนรองรับเท่านั้น

 

สิ่งที่ต้องระวัง

เสาเข็ม ถ้ามีการเชื่อมต่อกัน ต้องทำการเชื่อมด้วยระบบไฟฟ้าแผ่นเพลท

เมื่อตอกเสาเข็มเสร็จ ต้องตรวจว่าความถูกต้องว่าหนีศูนย์หรือไม่ ค่าที่รับได้ไม่เกิน 5 ซม. เท่านั้น

การตอกเสาเข็มได้ลื่นเร็ว ไม่ฝืด ไม่ใช่เรื่องดี เพราะเสาเข็มทำงานด้วยแรงเสียดทาน

เรื่องนี้ท่านต้องใส่ใจเพราะเรื่องเสาเข็มไม่ใช่เรื่องเล็กๆ หากดำเนินการแล้วเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ หนีศูนย์ บริษัทผู้รับตอกเสาเข็มต้องรับผิดชอบให้ท่าน ในบางครั้งอาจถึงขั้นให้วิศวกรต้องออกแบบโครงสร้างใหม่กันเลย

ความรู้เรื่องเสาเข็ม,เสาเข็มที่ดี,การตอกเสาเข็ม,การเลือกเสาเข็ม,ความหมายของเสาเข็ม,ประเภทเสาเข็ม,ข้อคำนึงเรื่องเสาเข็ม